เพราะโรคผิวหนังพิทบูล ที่มี อาการ คัน ขนร่วง ผิวหนังอักเสบ ที่พบบ่อยๆ เรียงตามลำดับ ได้แก่
1) โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
แบ่งได้ 3แบบใหญ่ๆตามความลึกของการติดเชื้อ
1.1) ติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นนอก : พบได้บ่อยบริเวณ รอยพับย่นตามร่างกาย เช่น ปาก หน้า ข้างอวัยวะเพศเมีย ร่องโคนหางบูลดอก เป็นต้น
1.2) ติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นกลาง : รวมทั้งขุมขนโดยจะพบตุ่มหนองบริเวณที่ติดเชื้อ ( พันธ์ขนสั้น เช่น บอกเซอร์ พิทบูล บูลดอก โดเบอร์แมน มักเป็นโรคนี้ง่าย และรักษายาก )
1.3) ติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นลึก : รักษายากและไม่หายขาด และมักพบว่ามีการติดเชื้อร่วมกับเชื้ออื่นๆ เช่นเชื้อรา หรือ ขี้เรื้อนเปียก
3) โรคผิวหนังที่เกิดจากยีสต์มาลาสซีเซีย ปรกติแล้วเชื้อยีสต์สามารถพบได้ตามผิวหนังทั่วไป เช่น ช่องหูส่วนนอก ทวารหนัก ช่องคลอด แต่ถ้าเมื่อผิวหนังมีสภาพเปลี่ยนไป เช่นมีการอักเสบ มีความชื้น หรือไขมันสะสมอยู่มาก เชื้อยีสต์จะเพิ่มจำนวนและก่อโรคได้
4) โรคผิวหนังที่เกิดจากไรขี้เรื้อนขุมขน หรือขี้เรื้อนเปียก อาจพบไรเหล่านี้ในขุมขนโดยสัตว์ไม่แสดงอาการใดๆ เลย ส่วนอาการที่พบได้มักพบขนร่วงเป็นหย่อมบริเวณ แก้ม ริมฝีปาก ขอบตา ขาหน้า และถ้าหากมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยจะพบเป็นตุ่มหนองแฉะกลิ่นตัวแรง รักษาค่อนยาก ( พันธ์สุนัขที่พบว่าเกี่ยวข้องกับโรคนี้ โดยเป็นโรคง่ายเนื่องจากมีภูมิต้านทานเกี่ยวกับโรคนี้ต่ำ ได้แก่ อัลเซเชียน บูลเทอร์เรีย อิงลิชบูลดอก ดัลเมเชียน สะแตฟฟอร์ดไชร์เทอร์เรีย พิทบูล )
5) โรคผิวหนังที่เกิดจากไรขี้เรื้อนแห้ง ติดต่อง่ายมากโดยการสัมผัส สัตว์จะแสดงอาการคันรุนแรง และขนร่วง และผิวหนังเป็นสะเก็ดแห้ง ลุกลามเร็วมาก แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ง่าย
6) โรคผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ เนื่องจากสูดหายใจเข้าไป(สารกระตุ้นที่ทำให้เกิดการแพ้ Allergen ) แพ้อาหาร (สารจำพวก Glycoprotein) เนื่องจากการสัมผัส ( สารที่ทำให้เกิดการแพ้ เช่น พืชบางชนิด หนังสัตว์ สารเคมี) แพ้น้ำลายหมัด ( โปรตีนจากน้ำลายหมัดResilin)
7) โรคผิวหนังที่เกิดจากการขาดฮอร์โมน Hypothyroid นอกจากสัตว์จะแสดงอาการที่ขนและผิวหนังแล้ว ยังแสดงอาการอีกหลายแบบ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยง่าย อ้วนทั้งที่กินอาหารปรกติ
________________________________________________________________________________
จะเห็นได้ว่าโรคผิวหนังที่เกิดกับพิทบูลของเรานั้น มาจากหลายๆ สาเหตุ ไม่ได้มาจากขี้เรื้อนอย่างเดียว และอาการทางผิวหนังนั้นคล้ายคลึงกันมาก คือ คัน ขนร่วง และผิวหนังอักเสบ เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงควรพาพิทบูลของเราไปพบสัตวแพทย์ใกล้บ้าน
1) ในเบื้องต้นสัตวแพทย์ จะทำการซักประวัติ เพื่อให้ทราบถึงการดำเนินไปของโรค และหาสาเหตุเบื้องต้นที่น่าจะเกี่ยวข้อง เช่น อายุ เพศ เคยทำหมันหรือไม่ เริ่มอาการเมื่อได คันมากน้อยแค่ไหน หรือ มีการเลี้ยงสัตว์อื่นร่วมกันหรือไม่เป็นต้น
2) หลังจากนั้นสัตวแพทย์ จะทำการตรวจร่างกายสัตว์ และทำการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นให้เราทราบว่าพิทบูลของเรานั้นน่าจะเป็นโรคผิวหนัง เนื่องจากสาเหตุใด ( บางโรค ประวัติ และอาการป่วยที่ชัดเจนก็เพียงพอที่จะวินิจฉัยโรคได้ ) แต่ถ้าอาการไม่ชัดเจนสัตวแพทย์อาจจะทำการตรวจในระดับห้องปฏิบัติการต่อไป เช่น ขูดผิวหนังเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน ส่งตัวอย่างเพื่อเพาะเชื้อ ย้อมสีเพื่อดูเชื้อที่ผิวหนัง และ อื่นๆอีก
3) สัตวแพทย์จะวางแผนการรักษา ให้คำแนะนำ และพยากรณ์โรคให้เรา เช่น จะรักษายังไง ต้องอาบน้ำด้วยแชมพูยาไหม ให้ยาอะไรบ้าง ยาแต่ละตัวใช้เพื่ออะไร จะหาย-ไม่หาย หรือแค่พยุงอาการ ใช้เวลารักษานานเท่าใด
คำแนะนำเหล่านี้เราควรจะได้รับความชัดเจนจากสัตวแพทย์ของเรานะครับ…..
เวชภัณฑ์ที่มักใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง ได้แก่
Ivermectin , Amitraz, ยารักษาเชื้อรา , ยารักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย, ยาลดอาการคัน, ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน,ยากดภูมิคุ้มกัน, แชมพูโรคผิวหนัง หรือสารเสริมอาหารอื่นๆ ที่เหมาะสม
บทความโดย